วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2562

[GPAX Talks] เกรดปี 3 2/2560

[GPAX Talks] เกรดปี 3 2/2560

           สวัสดีครับ กลับมาเเล้วๆหลังจากที่ไม่ได้เขียนบล๊อกมานาน หายไปหนึ่งเทอม จะเล่าคราวๆให้ฟังว่า ปี 3 เทอม 2 ค่อนข้างโหดอยู่นะ ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเรามีเรื่องส่วนตัวที่ต้องรับผิดชอบมากกว่าคนอื่นรึเปล่า แต่ไม่ว่าจะสาขาการสร้างเสริมสุขภาพ อนามัยสิ่งเเวดล้อม หรืออาชีวอนามัยฯ ต่างก็หนักหนาสาหัสกันทั้งนั้น

           สาขาการสร้างเสริมสุขภาพ ปี 3 เทอม 2 ได้ลงชุมชนบ่อยมาก มีการลงชุมชนหรือเรียนรู้นอกห้องเรียนได้เเก่ วิชา Health Promotion Practice, Physical Activities แล้วยังมีวิชาที่เพิ่มทักษะทางด้านวิชาการได้แก่  วิชาการเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรม,  Health Promotion Tools Development, Health Communication and Media และยังมีวิชา Research Methodologies in Public Health ที่เป็นวิชาเรียนรวมซึ่งกลุ่มที่เราได้ร่วมงานก็มีความสามารถเเละทำผลงานออกมาได้ดีและได้รับรางวัลชมเชย โครงการวิจัยบริการสังคมของทางมหาวิทยาลัยฯ ต่อจากนี้จะเป็นการรีวิวรายวิชาคร่าวๆกันนะครับ

☺Health Promotion Practice
วิชาที่เปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของการทำความรู้จักกับชุมชน เรียนรู้ชุมชนได้อย่างไม่เข้มข้นมากนัก ผ่านเครื่องมือวิเคราะห์ชุมชนกี่ชนิดก็เเล้วเเต่ความเหมาะสม วิชานี้ในเเต่ละรุ่นอาจจะบูรณาการกับวิชาอื่น อย่างรุ่นเราค่อนข้างพัง ไปลงชุมชนเเล้วไม่ได้อะไร ได้ข้อมูลขยะที่ใช้การไม่ได้ เกิดจากการไม่สามัคคีในการวางเเผนการเรียน ซึ่งก็นับว่าเป็นการเรียนรู้จากข้อผิดพลาด ทุกคนคงได้เรียนรู้ คะแนนได้จากการลงชุมชนเเต่ละครั้งจะมีงาน หรืออื่นๆ เช่น ความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา เป็นต้น

☺Physical Activities and Health
หากวิชาโภชนาการคือการคำนวณปริมาณอาหารเเละปริมาณพลังงานที่ได้รับ วิชากิจกรรมทางกายก็จะเป็นการคำนวณการเผาผลาญพลังงานจาก สารอาหารที่เราได้รับที่เกี่ยวข้องกับ น้ำหนักตัว รูปร่าง อายุ ช่วงวัย ซึ่งเราไม่อินกับทั้งสองวิชา เราไม่ชอบไม่ถนัด เราก็ไม่เอาวิชานั้นๆ วิชานี้เราเกรดน้อยที่สุดในเทอมนี้เเล้วคือได้ เกรด B

☺Health Promotion Tools Development
เอกสารประกอบการสอนวิชานี้ไม่ใช่ชีท ไม่ใช่หนังสือ เเต่มันคือคำภีร์ เก่าเเก่เเละหนามาก เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับรายวิชาอื่นๆ เช่น Research หรือ Project เป็นต้น เป็นวิชาที่เรียนรู้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลอย่างเป็นสากล น่าเชื่อถือ ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำงาน ข้อสอบวิชานี้เป็นข้อเขียน ที่เน้นความถูกต้อง คิดอย่างรอบคอบ คิดอย่างมีเหตุผล เกรด A ก็ไม่ใช่สิ่งที่ได้มากอย่างยากลำบาก :)

☺Health Communication and Media
ทุกศาสตร์ล้วนมีการสื่อสาร เเต่การสื่อสารทางวงการสาธาณสุขนั้นมีบางอย่างที่เเตกต่างไปอยู่บ้าง ร่วมกันหาคำตอบจากรายวิชานี้ การสื่อสารสุขภาพและสื่อ วิชานี้มีเอกสารประกอบการเรียนการสอนเฉพาะ เราได้เรียนรู้การผลิตคอนเทนท์ ไม่ใช่การผลิตผลงานเป็นชิ้นออกมา ได้รู้จักคิด เรียนรู้ว่าการสื่อสารเราต้องการสื่อสารอะไร วิชานี้ผ่อนคลายมาก ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ได้คิดอย่างอิสระ หากมีความรับผิดชอบ ก็ไม่ต้องห่วงว่าจะไม่ได้ A วิชานี้

☺Research Methodologies in Public Health
วิชาเรียนรวมทุกสาขา แบ่งกลุ่มกันทำงานวิจัยด้วยตัวเองออกมาหนึ่งงาน รุ่นเรามี 131 คน กลุ่มเรามี 11 คน ทั้ง 3 สาขา วิชานี้ค่อนข้างหนักมาก ตั้งเเต่การคิดเรื่องที่อยากจะศึกษา การเขียนโครงร่างงานวิจัย การทบทวนวรรณกรรม การเก็บรวบรวมข้อมูลและอื่นๆ งานหินมากสำหรับการทำวิจัยครั้งเเรก เเต่ด้วยความสามารถของทุกๆคนในกลุ่มก็ผ่านได้อย่างลุล่วงด้วยดี มั้ง นอกจากงานวิจัยที่ต้องทำเเล้ว การสอบกลางภาคเเละปลายภาค คือเครื่องชี้เป็นชี้ตายเรื่องเกรด เราทำงานวิจัยออกมาค่อนข้างดี เเต่คะแนนสอบธรรมดา จึงได้ B+

☺Behavioral Modification
วิชาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นวิชาที่เน้นความรู้ทางวิชาการจิตวิทยาสังคมกับสุขศาสตร์ เป็นวิชาที่สบายๆ มีผู้ที่มีประสบการณ์ด้านต่างๆมาเป็นอาจารย์รับเชิญ ข้อสอบค่อนข้างสนุกเป็นข้อเขียน ได้ใช้อิสระทางความคิด ตั้งใจเรียน ตั้งใจ Lecture ก็จะทำข้อสอบได้เองครับ

☺Current Health Issues
เรียนรู้จากสถานการณ์ปัจจุบันว่ามี เหตุการณโรค หรือปัญหาสุขภาพอะไรบ้างมีถกกัน มีอาจารย์รับเชิญคอยสร้างบรรยากาศในการเรียนที่ต่างกันออกไป ส่วนตัวจำไม่ได้ว่าเรียนอะไรบ้าง

           หลายคนอาจมองว่าสาขาการสร้างเสริมสุขภาพ ค่อนข้างสบายไม่ค่อยมีเรียน หลีกเลี่ยงและปฎิเสธไม่ได้ที่มักโดนดูถูกจากเพื่อนสาขาอื่น ซึ่งเราก็เคยสัมผัสกับคำพูดเหล่านั้นเเละเก็บมาคิดมากช่วงหนึง ซึ่งนั่นก็เป็นเพียงข้อเท็จจริง เเต่สิ่งที่เเน่นอนคือ การเรียนรู้กับงานที่ได้รับมอบหมายด้วยตัวของตัวเอง การปรึกษาอาจารย์ผู้สอนหรือผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในด้านนั้นๆ ความรับผิดชอบ การทำงานเป็นทีม หรืออื่นๆ ที่นักศึกษาจะต้องเรียนรู้ ซึมซับและต่อสู้กับประสบการณ์ชีวิตในรูปแบบต่างๆ

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านบทความนะครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น